Container Icon

MY PROFILE

        My name is  Phawinee  Thongdeeying. My nickname is Kib.

        Student Code : 5311114104  English 03
        Faculty Of Education
        Nakhon Si Tammarat Rajbhat University

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

Learning Reflection

Learning reflection on lessons or lesson summary
(you have to update until the end of the semester)
1 June ,2012   
มีการเรียนการสอน เรื่อง “ Innovation Education Technology  in the global Classroom” ซึ่งครูอธิบายเนื้อหาในแต่ละย่อหน้าดังนี้  ในโลกโลกาภิวัฒน์และนวัตกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องในการที่ครูต้องผู้ที่ริเริ่มและสร้างสรรค์ตามให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งครูต้องใช้เทคโนโลยีในทางการศึกษา  ซึ่งมีอักษรย่อที่สำคัญในการเรียนบทนี้ เช่น
ESOL =    English  for  speakers  of other   Languages
EFL  =  English  as  a  foreign   Languages
     แล้วอาจารย์ก็สอน การออกแบบข้อสอบใน word ซึ่งต้องใช้เครื่องมือ นักพัฒนา
 และปุ่มที่สำคัญต้องใช้มีดังนี้         
       1. การใช้ปุ่มเครื่องมือแบบเลือกตอบ                                                                                     
       2. การใช้ปุ่มเครื่องมือแบบเติมคำ                                                                                              
       3.  การใช้ปุ่มเครื่องมือแบบเลือกตอบ ( Matipalchoice)

8 June,2012
      อาจารย์ให้อ่านบทความ “ On the problem and Strategies of  Muitimedia Techcology in English Teaching ”  หมายถึงปัญหาและวิธีการของการนำเทคโนโลยีสื่อประสมในการสอนภาษาอังกฤษ และอาจารย์ได้แบ่งหัวข้อและให้แต่ละกลุ่มออกแบบมานำเสนอ 
1. Analysis  on  necessity  of  multimedia  technology to English  teaching                                      
2. Analysis  on  Problems Arising  from application  of multimedia  technology to English  teaching         
3.  Suggestions   and Strategies  to  the existing  Problem

15 June,2012
  วันนี้อาจารย์ สอนเรื่อง Blog                                                                
  -  สอนในการเปลี่ยน  Template  การตกแต่งสี   การใส่นาฬิกา ปฏิทิน , แทรกวีดีโอ  , เพิ่มบทความ  , เพิ่มชื่อเพื่อนในห้อง
       สำหรับการแทรกวีดีโอ จะเกี่ยวกับ การสอนภาษาอังกฤษ ต้องใช้ในการฝังจาก Youtube และ Copy Code มายังรูปแบบ blog ของตนเอง

22 June,2012
            วันนี้อาจารย์สอนการ  Link บทความไปยังหน้า Website ต่างๆ  โดยใช้ “ Recent posts ” ซึ่งเป็นตัวแสดงชื่อของบทความที่ใส่ไปใน Blog และอาจารย์บอกรายละเอียดข้อมูลที่จะต้องใส่ในblog

29 June,2012
            ในวันนี้อาจารย์มีธุระจึงไม่ได้มาสอน จึงให้นางสาววราภรณ์   หยั่งหลัง มาสอนการตกแต่ง Photo shops เพื่อที่จะมาใส่ในBlog ซึ่งได้ความรู้เกี่ยวกับการทำหัวบล็อกจากโปรแกรมนี้

6  July ,2012
            อาจารย์เริ่มสอน CAI โดยต้องใช้ Program Adobe Captivate 5  ซึ่งจะเกริ่นนำก่อนใช้โปรแกรมนี้    
            อาจารย์ เปิดตัวอย่าง การออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน                                                         
            อาจารย์ให้ทำ Story board ซึ่งต้องพับกระดาษครึ่งA4

13July,2012                                                                                                                                                                     สอนเรื่อง CAI วันนี้อาจารย์ออกแบบหน้าจอ (หน้าแรก) ข้อความต้อนรับเข้าสู่คอมพิวเตอร์ ช่วยสอน”  , ให้ตั้งวัตถุประสงค์ มีจำนวน  3 ข้อ 

20 July ,2012
            วันนี้ อาจารย์สอนในเรื่องของการทำให้รูปภาพ / ตัวอักษรขึ้นเวลาใช้เมาส์ไปชี้ อาจเป็นการใช้ในเรื่องของคำศัพท์หรืออาจจะเป็นการให้ข้อความมาและเมื่อชี้ที่รูปภาพก็จะเป็นคำศัพท์ขึ้นมา

27 July ,2012
            อาจารย์สอนการใส่เสียงใน CAI  ก่อนอื่นต้องหารูป หูฟัง หา File ที่เก็บเสียงอาจารย์ เช่น perfect , excellent etc…… เมื่อกด F8 เอาเมาส์ชี้ที่ หูฟังเสียงก็จะดังขึ้น                                     
             การออกแบบข้อสอบแบบเลือกตอบ ซึ่งต้องมีการตั้งค่า ที่ผู้เรียนสามารถตอบได้เพียงคำตอบเดียว , ตอบให้ถูกต้องก่อนไปทำข้ออื่น                                                                                   
             ทำข้อความแสดงต้องการออกจากโปรแกรม  ( เมื่อกด   Quit  จะมีการใช้คำถาม “ Are you want to quit? ”  และมี คำว่า YES / NO ด้วย)


17August, 2012
        อาจารย์เรื่องการสร้าง quiz โดยไม่ต้อง score ในquiz แต่โชว์ score ใน pre-testและ post-testเท่านั้น และอาจารย์สอนการเพิ่ม objectives ควรมีบทนำในบทเรียน CAI ว่ามีประโยชน์ต่อผู้เรียนอย่างไรบ้าง ในรายงานมีส่วนประกอบอะไรบ้าง อาจมีไฟล์ที่เป็น video การนำบทเรียน CAI ไปใช้จริง


14September,2012
       อาจารย์สอนการ publish แบบไฟล์ flash(SWF) ที่ง่ายกว่าแบบ Media และการทำ slide ที่เป็นหน้า Welcome และหน้า slide สำหรับให้นักเรียนลงชื่อเข้าใช้บทเรียน CAI

                                

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

Applying Innovation

เจตนาในการประยุกต์นวัตกรรมถึงมัลติมีเดียกับการสอนภาษาต่างประเทศ
1.   บทนำ
เมื่อมีการเพิ่มขึ้นของการให้ความสำคัญกับผู้เรียนถึงผลกระทบในการเรียนรู้ ดังนั้นการสอนภาษาต่างประเทศเป็นศูนย์กลางของผู้เรียนและเป็นหัวข้อหลักในการสอน พร้อมกับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะที่มหาวิทยาลัยมีหลักสูตรภาษาอังกฤษที่ต้องการขยายโดยระบบการศึกษาชั้นสูงของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมหาวิทยาลัยได้ใช้สื่อมัลติมีเดียและเครือขายเทคโนโลยีที่เป็นรูปแบบการสอนแบบใหม่ที่ปฏิรูปวิธีการสอนของครูที่เจาะจงในเรื่องของการสอนแบบอธิบาย และในขณะเดียวกันนักเรียนก็ได้รับคำแนะนำให้เรียนภาษาอังกฤษกับคอมพิวเตอร์มากกว่า 30%-50% ของทั้งหมดที่ยอมรับในวิชาเรียนภาษาอังกฤษ

2.   การสอนโดยใช้สื่อมัลติมีเดียและนวัตกรรมความคิดทางการศึกษา
รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษแบบดั้งเดิมเป็นการถ่ายทอดที่ประกอบด้วยครู นักเรียน ชอล์ก กระดานดำ เทปในบางกรณี แต่ในขณะที่การสอนโดยใช้สื่อมัลติมีเดียเป็นการสอนที่ประกอบด้วย ครู นักเรียน คอมพิวเตอร์ ที่เป็นการแนะนำโดยผู้สอน ตามที่ทฤษฎีนี้ ผู้เรียนไม่ได้แสดงถึงความรู้ที่ได้รับ ดังนั้น การสอนข้อมูลเพียงอย่างเดียวที่พวกเขาได้สืบมาจากนอกโลกที่มาเปลี่ยนเป็นภาษาของตัวเอง ในความจริงแล้ว รูปแบบการสอนแบบดั้งเดิมครูไม่ยอมรับภายใต้หลักสูตรที่นำสื่อมัลติมีเดียมาช่วยสอน คือ ประโยชน์ของมัลติมีเดียไม่สามารถใช้กับการรวมของกระดานดำ ชอล์กที่จะใช้ในเทคโนโลยีและจอคอมพิวเตอร์ได้ ดังนั้นครูจึงต้องมีความคิดในการใช้สอนแบบดั้งเดิม คือ เปลี่ยนความคิด บทบาทหน้าที่ เช่น ถ้าเมื่อก่อนเป็นการจดบันทึกก็อาจจะมีการให้ค้นหาไม่ต้องจด ครูเป็นบุคคลที่จะต้องเลือกใช้สื่อมัลติมีเดียด้วยเหตุผล

3.   ประโยชน์ของการสอนโดยใช้สื่อมัลติมีเดียและการตรวจสอบการสอนภาษารูปแบบใหม่ๆ
3.1  ผลกระทบในด้านบวกของการใช้สื่อมัลติมีเดียในการสอนภาษาต่างประเทศ
1.     PPT  (power point) ใช้เป็นสื่อมัลติมีเดียในการสอนที่สามรถเพิ่มข้อมูล เสียง และสามรถบันทึกข้อมูลได้ในจำนวนมากๆในเวลาน้อย นอกจากนี้ใช้ในการเขียนบนกระดานดำ ปรับปรุงห้องให้มีประสิทธิภาพ
2.    เป็นแหล่งรวมเสียง แสงสว่าง อิเล็กทรอนิก ภาพ เสียง มัลติมีเดียแบ่งระดับการสอนและรูปแบการสอนสำหรับ 2อย่าง คือ ครูและนักเรียน ในสภาพแวดล้อมนี้สามารถให้ผู้เรียนสามารถแสดงผลสะท้อนกลับไดในเวลาเรียนเลย
3.    พัฒนาสื่อมัลติมีเดียที่เป็นสาเหตุใหญ่ในการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาในการสอนภาษาต่างประเทศ ครูสามารถบูรณาการสื่อในการสอนเนื้อหาและข้อมูลที่มีความหลากหลาได้ เช่น ครูสามรถดาวน์โหลด สื่อ โปรแกรมและใช้มันเพื่อให้นักเรียนเรียนรู้อะไรใหม่ๆในโลก
4.    สื่อมัลติมีเดียสามารถให้ข้อมูลที่ให้นักเรียนได้คิด เช่น เชื่อมโยงความคิดเกี่ยวกับ เสียง รูปภพ คุณภาพ ความรู้สึกได้ ซึ่งช่วยให้เขาคิดและจำด้วย
5.    การสอนโดยนำสื่อมัลติมีเดียสามารถใช้เป็นสื่อในการสื่อสารกันระหว่างครูและนักเรียน นักเรียนกับนักเรียน  ครูได้ใช้คำถามกับนักเรียนตอนอยู่ในคาบหรือสื่อสารกันหลังเลิกเรียนใน Online discussion หรือ     E – mail
3.2 ปัญหาและการแก้ไขปัญหาในการสอนโดยใช้สื่อมัลติมีเดีย
1.     รวมหลายๆวิชากับสื่อมัลติมีเดีย ในห้องเรียนที่ใหญ่ไม่สามารถปรับปรุงการฟัง พูดได้ ในวิชาที่แตกต่างกันก็ต้องใช้วิธีการสอนที่แตดต่างกันมันถึงจะดีกว่า เช่น การสอนฟัง พูดควรจะเจาะจงไปถึงการสร้างโอกาสที่จะใช้การสื่อสารกันตลอดเวลา
2.    รวมการสอนที่แตกต่างกันในระดับกับมัลติมีเดีย ความแตกต่างเป็นกุญแจหลักที่จะเห็นนักเรียนมีลักษณะเด่นและระดับที่แตกต่างกัน ดังนั้นครูจะต้องใช้ประโยชน์ของการนำข้อมูลจากสื่อนี้มาใช้เพื่อมาเป็นเนื้อหาที่มันชัดเจนลีดึงดูดความสนใจ
3.    รวมการสอนและการเรียนรู้ สื่อมัลติมีเดียจะต้องเป็นวิธีการที่จะต้องเป็นสื่อที่จะช่วยครูในการสอนของครูได้ ซึ่งครูเป็นผู้เลือกว่าจะสอนในสถานการณ์อย่างไร มีกิจกรรมอะไรบ้างที่จะทำกันในห้องเรียน
4.    รวมการสอนในห้องเรียนและหลักสูตรในการสอน เมื่อนักเรียนมีระดับและการรับรู้ที่แตกต่างกัน ดังนั้นครูสามารถสอนนักเรียนพิสูจน์การวางแผนการเรียนของผู้เรียนได้โดยดูจากงานเดี่ยวหลังจากสอนไปแล้วเสร็จ


         4.สรุป
       รูปแบบการสอนภาษาต่างประเทศรอการทดสอบที่ไม่มีปัญหาและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการสอนให้ประสบความสำเร็จได้
      


  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

On the problem

ปัญหาและวิธีการสื่อมัลติมีเดียในการสอนภาษาอังกฤษ
1.     มีความจำเป็นอะไรที่จะต้องใช้สื่อมัลติมีเดียเข้ามาช่วยในการสอน
A.    สร้างความสนใจ/กระตุ้นผู้เรียน
       เนื่องด้วยสื่อมัลติมีเดียเข้ามามีบทบาทแทนที่วิธการสอนแบบดั้งเดิม ด้วยสื่อมัลติมีเดียนี้มีมัลติมีเดีย มีภาพ มีเสียง ภาพเคลื่อนไหว ที่เป็นตังสร้างความสนใจและกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจเรียนมากยิ่งขึ้น
B.    ส่งเสริมความสารถของนักเรียน
       มีการนำสื่อมัลติมีเดียมาใช้ในเรื่องของ Internet ร่วมกับการสอนของครู มีการนำ PPT (power point)มาช่วยในการสอน ซึ่งต้องมีการส่งเสริมให้มีการอภิปรายกลุ่ม กิจกรรม โดยที่ไม่ใช้สื่อมัลติมีเดียเพียงอย่างเดียว
C.   นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจระหว่างวัฒนธรรมตะวันตกได้ดี
       สื่อมัลติมีเดียเป็นสื่อที่เสนอข้อมูลจำนวนมากๆได้ เช่น การใช้ CD มาเปิดในห้องเรียนเพราะสิ่งนี้มีข้อมูลมากกว่าข้อมูลในหนังสือ ซึ่งได้ใช้ทักษะการฟัง และมีการบูรณาการทักษะการฟังกับทักษะอื่นๆได้
D.    การพัฒนาผลการสอน
       ในการนำสื่อมัลติมีเดียมาช่วยสอนนั้นเป็นสิ่งที่ดีที่จะพัฒนาการสอนได้คือ จะใช้ครูเป็นสื่อกลาง ถ้าหากจำนวนนักเรียนมีจำนวนมากๆ ครูต้องนำสื่อมัลติมีเดียมาช่วยสอน เช่น ครูใช้ Sound Lab เข้ามาช่วยเป็นสื่อในการสอน
       การสอนแบบดั้งเดิมเป็นแบบอย่างที่เน้นให้ครูสอนและป้อนข้อมูลที่มีการจำกัด ในทางตรงกันข้ามสื่อมัลติมีเดียจะไปเลยของคำว่าเวลาและช่องว่าง สร้างจินตนาการ การมองเห็นสื่อของจริงของการเรียนภาษาอังกฤษ ซึ่งมันสามารถเพิ่มข้อมูลในห้องเรียนได้อย่างไม่จำกัดและมากขึ้น

2.    ปัญหาของการใช้สื่อมัลติมีเดีย
A.    ปัญหาหลักของการถูกแทนที่ด้วยตัวช่วย
       ในการประยุกต์ใช้สื่อมัลติมีเดียมาช่วยนั้นจะทำให้ครูนั้นมีบทบาทลดลง ซึ่งถ้าครูใช้สื่อมัลติมีเดียมาช่วยในระหว่างการสอน มันก็เท่ากับลดหน้าที่ภาระของครูออกไป และเมื่อครูใช้สื่อมัลติมีเดียก็จะมีความสนใจแต่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ทำให้ขาดปฏิสัมพันธ์กันระหว่างครูกับนักเรียน ดังนั้นการใช้สื่อมัลติมีเดียก็ต้องใช้อย่างระมัดระวัง เพราะถ้าใช้มากเกินไปก็จะตกเป็นทาสของมันและไม่รู้หน้าที่ของตนเอง
B.    สูญเสียการสื่อสาร
       กล่าวคือ ในการใช้สื่อผสมส่งผลทางการบกพร่องในการสื่อสาร ซึ่งมีโอกาสในการสื่อสารน้อยมาก เพราะในความเป็นจริงแล้วนั้น การสอนภาต้องใช้การพูดกันตลอดเวลา ดังนั้นเมื่อนำสื่อมัลติมีเดียมาช่วยนั้นก็จะทำให้การพูดของครูถูกสื่อมัลติมีเดียบดบังไปหมด
C.   ศักยภาพของผู้เรียนลดลง
       คือนักเรียนกับครูไม่มีการถาม ตอบกัน ซึ่งครูไม่สามารถรู้ได้เลยว่านักเรียนมีผลสะท้อนกลับหรือไม่จากการสอน นักเรียนเลยละเลยว่าการสอนตรงไหนที่ครูต้องการเน้นหรือสิ่งไหนเป็นสิ่งจำเป็น เพราะนักเรียนไม่ได้ฝึกทักษะการคิด
D.    ความคอดแบบนามธรรมจะถูกแทนที่เป็นภาพหมด ไม่ได้คิด/จินตนาการเลย
-          การอ่านของนักเรียนถูกแทนที่ด้วยตัวอักษรที่อธิบายไว้เรียบร้อยด้วยภาพและเสียง โดยที่นักเรียนไม่ต้องใช้ความคิดหรือจินตนาการเลย
-          การเขียนของนักเรียนถูกแทนที่ด้วยแป้นพิมพ์
ทั้งหมดนี้ เป็นการนำเสนอสื่อมัลติมีเดียมาช่วยสอนไม่สามารถแทนที่บทบาทของครูได้และเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสอนที่สมบูรณ์ได้ นอกจากจะใช้เป็นเครื่องมือในการสอน

3.    แนวทาวแก้ไข
A.     ไม่เน้นงานอย่างเดียว
          คือให้ความสำคัญในบทบาทของครูเป็นหลัก กล่าวคือ ครูเป็นตัวนำในการจัดการเรียนการสอน ดังนั้นครูจะต้องเป็นผู้อธิบาย บอกให้ข้อมูลกับนักเรียน ซึ่งการที่จะนำสื่อมัลติมีเดียมาใช้มันก็ใช้ได้แต่นำมาใช้แค่เป็นตัวช่วย
B.      จอคอมพิวเตอร์ไม่สามารถแทนที่ กระดานดำได้
           เนื่องจากการใช้สื่อมัลติมีเดีย ครูต้องเตรียมเนื้อหาไว้ก่อนล่วงหน้าก่อนที่จะนำเสนอข้อมูล ดังนั้นมันเลยแก้ไขเนื้อหาไม่ได้เมื่อนักเรียนถาม แต่ในการใช้กระดานดำมันสะดวกกว่าที่จะแก้ไข เพิ่ม ลบ ข้อมูลต่างๆได้และสามรถเขียนอธิบายได้ชัดเจนกว่าเมื่อนักเรียนถามและต้องการคำตอบ ณ ตอนนั้นเลย
C.     Power point ไม่สามารถนำมาแทนที่ความคิด การพูด การฝึกภาษา
          เนื้อหาใน Power point มันมีทั้งเนื้อหา รูปภาพอธิบายชัดเจน นักเรียนจึงไม่ได้ฝึกทักษะการคิดและการสื่อสารภาษาอังกฤษ เพราะในการสอนภาษาอังกฤษต้องใช้การสื่อสารกันตลอดเวลา
D.      วิธีการสอนแบบดั้งเดิมที่ไม่ควรละเลย
          การนำสื่อมัลติมีเดียมาช่วยสอนนั้นไม่สามารถแทนที่วิธีการสอนแบดั้งเดิมที่ดีอยู่แล้วได้ เพราะการสอนแบบดั้งเดิมก็ยอดเยี่ยมอู่แล้ว เช่น ใช้เทปบันทึกเสียงโดยผู้บันทึกก็ยังมีบทบาทในการกระจายเสียงเพื่อเป็นสื่อการฟัง ซึ่งถ้าครูจะนำสื่อมัลติมีเดียมาใช้ก็จะต้องประยุกต์และเลือกวิธีสอนแบบดั้งให้เข้ากันอย่างเหมาะสม
E.      สื่อมัลติมีเดียไม่ควรใช้มากเกินไป
          ถึงแม้ว่าสื่อมัลติมีเดียจะทำให้บรรยากาศในห้องน่าสนใจ แต่ความเป็นจริงแล้วนักเรียนอาจจะดูเฉยๆไม่มีการพิจารณาหรือคิดตาม และมันก็มีสิ่งรบกวนในการให้ความรู้ นักเรียนไม่สามารถใช้สื่อมัลติมีเดียมาเป็นสื่อในการพูดได้




  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

Innovation

นวัตกรรมเทคโนโลยีการศึกษาใหม่ๆในโรงเรียนระดับโลก
       เมื่อยุคโลกาภิวัฒน์และนวัตกรรมทางการศึกษากำลังเข้ามามีบทบาท ครูเลยจะต้องรู้จักสร้างประดิษฐ์คิดค้นและต้องตามให้ทันกับนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงโลกอย่างรวดเร็ว ครูจึงต้องกระตุ้นใช้เทคโนโลยีมาใช้ในการสอน ซึ่งประกอบด้วย online discussion (อภิปรายออนไลน์) podcasting (โปรแกรมเสียง) blogging (บล็อก)
การบูรณาการเทคโนโลยีในการสอน
       เป็นการบูรณาการเนื้อหาที่จะสอนเช่น case study (กรณีศึกษา) portfolios (แฟ้มสะสมผลงาน)นำมาบูรณาการใช้กับเทคโนโลยีเช่น online discussion, podcasting, blogs และwiki ซึ่งมันก็ช่วยให้ครูได้เห็นความคิดใหม่ๆ และสามารถขยายความรู้ในห้องเรียนใหม่ที่มีความแตกต่างที่จัดเวลาใดก็ได้และเนื้อหาก็ไม่จำกัดและได้หลักสูตรที่ดีขึ้น
       สิ่งที่ครูควรคำนึงเวลาที่นำเทคโนโลยีมาใช้กับการสอนคือ ต้องคำนึงสิ่งที่ครูต้องการวัดนักเรียนที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ทั้งเทคโนโลยีและเนื้อหา ให้ความสำคัญกับจุดประสงค์ กระบวนการ รวมถึงการประเมินผล
Case Study (กรณีศึกษา)
       เป็นกระบวนการที่ครูและนักเรียนใช้การสนทนากันในสถานการณ์จริง ซึ่งไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาฝึกสอนหรือครูก็จะได้รับประสบการณ์ในการทำงานและช่วยเหลือให้มีความสัมพันธ์กับนักเรียนได้
       ขั้นตอนในการทำกรณีศึกษา
              a. เตรียมกรณีศึกษาโดยเลือกผู้เรียนภาษาและทบทวนดูหลายๆกรณี
              b. เก็บรวบรวมข้อมูล
              c. วิเคราะห์ข้อมูล
d. สร้างสถานการณ์โดยมมีผลสะท้อนข้อคิดออกมาและอภิปรายตั้งคำถามเพื่อเป็นประสบการณ์
Blogging(บล็อก)
       คืองานเขียนที่เกี่ยวกับหรือที่ได้มาจาก case study (กรณีศึกษา) ให้นำมาใส่ในบล็อกทั้งหมด ซึ่งในบล็อกนั้นก็สามารถใส่ ข้อความ กราฟ ไฟล์ pdf  รูปภาพและสามารถเชื่อมต่อไปสู่บล็อกอื่นๆอีกด้วย
                            
Podcasting (โปรแกรมเสียง)
       หลังจากที่นำข้อมูลกรณีศึกษาลงไปในบล็อกแล้วนั้น นักเรียนจะได้เรียนเกี่ยวกับโปรแกรมเสียงซึ่งอาจเล่นผ่านคอมพิวเตอร์ผ่าน mp3 ซึ่งโปรแกรมนี้เข้ามาฟังกี่ครั้งก็ได้ทำให้การเรียนรู้เข้มข้นขึ้นสิ่งที่ได้พบใน  Podcasting ก็จะเป็นคำศัพท์ใหม่ๆ ในการใช้โปรแกรมครูจะต้องระมัดระวังในการเลือก การประยุกต์ใช้กับเนื้อหาและสถานการณ์ของผู้เรียน และสามารถสร้างการเชื่อมต่อไปสู่ศูนย์กลางแหล่งข้อมูลได้

Creating a wiki
       เราเอา Podcasting มาไว้ใน wiki นี้แหละ ครูอาจจะแนะนำวิธีการสอนกิจกรรมที่มีในห้องของนักเรียนให้เข้าไปดูที่ website

Online Discussions
       ขั้นตอนนี้จะให้นักเรียนฟังแล้วก็แบ่งปันข้อมูลต่างๆ ให้ข้อเสนอแนะ ซึ่งในการเสนอแนะไม่มีการชมแต่บอกให้ปรับปรุงมากกว่า ซึ่งมันก็จะกลายเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของสาธารณชน

ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
เน้นในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในห้องเรียน คือ ต้องมีการเคลื่อนไหว มีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ของทุกๆคน




  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

acronyms

Directions: Find words or phrases standing for the following acronyms with short descriptions.
          1. IT คืออะไร
            IT (Information Technology) เป็นคำศัพท์ที่รวมรูปแบบทั้งหมดของเทคโนโลยีที่ใช้สร้าง เก็บ แลกเปลี่ยน และใช้สารสนเทศในรูปแบบหลากหลาย (ข้อมูลทางธุรกิจ สนทนาทางเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว การนำเสนอแบบมัลติมีเดีย และรูปแบบอื่นๆ) ศัพท์คำนี้เข้าใจอย่างง่ายหมายถึงเทคโนโลยีโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ในคำเดียวกัน สิ่งนี้เป็นเทคโนโลยีที่กำลังขับเคลื่อนสิ่งที่เรียกว่า การปฏิวัติสารสนเทศ
ที่มา : http://www.com5dow.com

2.ICT  คืออะไร
      ICT (Information Communication Technology) หมายถึง เทคโนโลยีที่ช่วยในการรวบรวมข้อมูล ตรวจสอบ จัดหมวดหมู่ เรียงลำดับ สรุป คำนวณ จัดเก็บ ค้นคืน จัดทำสำเนา และแพร่กระจาย หรือสื่อสาร ข้อมูล ทำให้ข้อมูลกลายเป็นสารสนเทศที่ดี มีความถูกต้อง ตรงตามความต้องการ และเกิดคุณค่าต่อผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) หมายถึง เทคโนโลยีทั้งหลาย (โดยมีเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นหลัก) ที่ทำหน้าที่ใน การจัดการข้อมูล ได้แก่ การนำข้อมูลเข้า การประมวลผลข้อมูล ให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ และเผยแพร่ต่อไปยังผู้บริโภค หรือผู้ใช้ ให้สามารถได้ใช้ผลผลิตนั้น อย่างถูกต้อง ตรงและทันกับความต้องการ เราสามารถใช้ติดต่อสื่อสารหาข้อมูล ความรู้ในการศึกษา กับสถาบันทั้งในและต่างประเทศได้ เพื่อหาความรู้และโลกทัศน์ใหม่ๆได้

3. CAI คืออะไร
CAI (Computer Assisted) คอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAIs หมายถึงสื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบหนึ่งซึ่งใช้ความสามรถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสม เช่น ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิและเสียงเพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียนหรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุดโดยมีเป้าหมายที่สำคัญก็คือ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และกระตุ้นให้เกิดความต้องการที่ จะเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นตัวอย่างที่ดีของสื่อการศึกษาในลักษณะตัวต่อตัว ซึ่งผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หรือการโต้ตอบพร้อมทั้งการได้รับผลป้อนกลับ (FEEDBACK) นอกจากนี้ยังเป็นสื่อ ที่สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างผู้เรียนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถที่จะประเมิน และตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนได้ตลอดเวลา
ที่มา : http://www.baanmaha.com/community/thread16649.html
     
      4. CALL คืออะไร
CALL (Computer-Assisted Language Learning คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนภาษา) เป็นชุดคำสั่งที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนภาษา มีลักษณะเหมือนกับโปรแกรมช่วยการสอนทั่วไป กล่าวคือ การสอนเนื้อหาหรือเนื้อเรื่อง มีการถาม การตอบ มีการแนะนำและอธิบาย แต่คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นคำที่มีความหมายกว้างกว่าโปรแกรมช่วยการเรียนภาษา เพราะคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบอกให้ทราบว่าเป็นโปรแกรมช่วยการเสนอเท่านั้น ส่วนจะสอนวิชาใดบ้าง ก็แล้วแต่ผู้สร้างโปรแกรม แต่โปรแกรมช่วยการเรียนภาษา หมายถึงโปรแกรมช่วยการเรียนภาษาโดยเฉพาะ ใช้ได้ทั้งกับการเรียนในห้องเรียน โดยมีผู้สอนเป็นผู้ควบคุมดูแลกระบวนการเรียน และการให้ผู้เรียนเรียนจากโปรแกรมด้วยตนเองที่ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-access Learning Center) หรือที่ศูนย์
CALL (Computer-assisted language learning)หมายถึงโปรแกรมช่วยเรียนภาษาโดยเฉพาะ ใช้ได้ทั้งกับการเรียนในห้องเรียน โดยมีผู้สอนเป็นผู้ควบคุมดูแลกระบวนการเรียน และการให้ผู้เรียนเรียนจากโปรแกรมด้วยตนเองที่ศูนย์การเรียนรู้ดวยตนเอง (Self-access learning center) หรือที่ศูนย์คอมพิวเตอร์และสำหรับสถานศึกษาทีมีความพร้อมก็อาจมอบแผ่นโปรแกรมให้ผู้เรียนนำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์นอกสถานศึกษาโดยผ่านโมเด็มและสายโทรศัพท์
ที่มา : http://natchanok557.blogspot.com/p/call.html
      5. WBI คืออะไร
WBI (Web Base Instruction) เป็นการจัดกิจกรรมการสอนในรูปแบบของ Web Knowledge Based โดยใช้เทคโนโลยีทางของ Webpage เป็นศูนย์กลางในการนำเสนอเนื้อหา หรือ ดำเนินกิจกรรม หรือที่เรานิยมเรียกกันติดปากว่า การเรียนการสอนแบบ Online” นั่นเอง
      6. CBI คืออะไร
CBI (Computer-Based  Instruction ) คือ การใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักในการสอน
หมายถึง วิธีการสอนหรือการฝึกหัดใด ๆ ที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อ บางทีอาจเรียกว่าการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อ, การเรียนโดยใช้คอมพิวเตอร์, การฝึกหัดโดยใช้คอมพิวเตอร์
ที่มา :  http://www.edu.nu.ac.th/supanees/lesson/366515/unit5_p04.html

      7. CMC คืออะไร
CMC (Computer Mediated Communication) การติดต่อสื่อสารกันของมนุษย์โดยอาศัยระบบเครือข่ายบนคอมพิวเตอร์เป็นตัวเชื่อมโยงการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างบุคคล หรือกลุ่ม ซึ่งมีหัวใจสำคัญ คือ การใช้ตัวอักษร(Text-Messeging) หรือภาษาที่สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้แต่ละบุคคลหรือกลุ่มนั้นๆ
CMC เป็นการติดต่อสื่อสารโดยปรากฏตัวผ่านรูปแบบสื่อคอมพิวเตอร์ เช่น Instant messages,       E-mail, Chat room  และยังได้รับการปรับใช้ในรูปแบบอื่นๆ ของการใช้ตัวอักษรเป็นหลัก เช่น Text Messaging หรือการส่ง SMS (short message service)บนมือถือ ในการวิจัยเรื่อง CMC จะโฟกัสในเรื่องใหญ่ๆ คือ ผลตอบกลับทางสังคมที่ได้รับการสนับสนุนของเทคโนโลยีการสื่อสารที่แตกต่างกัน และเมื่อไม่นานมานี้มีการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นหลัก Social Networking ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดย Social Software
      8. TELL คืออะไร
TELL (Technology-Enhanced Language-Learning)  in an increasingly globalised world. It is not a technical paper in thesense that it will deal with methodological or software issues.
    
        9. MUD คืออะไร
          MUD (Multi User Domains) หรือชื่ออื่น ๆ ที่เรียกกันก็มี Multi User Dimension , Muti User Dungeons)
            

       10. MOO  คืออะไร
MOO (Multiuser domain Object Oriented) เป็นระบบของการสื่อสารที่เป็น แบบซิงโครนัสที่ผู้ใช้(users)สามารถปฎิสัมพันธ์กันได้ด้วยการพิมพ์ข้อความ(text) โดยผู้สื่อสารกันนั้นสามารถ เลือกห้องหรือสถานที่สนทนากันได้ซึ่งผู้สนทนาจะต้องอยู่ในสถานที่ที่เรียกว่า room เดียวกัน

Directions: Describe the following terms.

Asynchronous คืออะไร



         โดยทั่วไป asynchronous (ออกเสียง ay-SIHN-kro-nuhs จากภาษากรีก asyn- หมายถึง ไม่ และ chronos, หมายถึง เวลา) เป็นคุณศัพท์อธิบายวัตถุหรือเหตุการณ์ที่ไม่มีพิกัดด้านเวลา ในเทคโนโลยีสารสนเทศ ศัพท์นี้มีการใช้หลายความหมาย

           1) ในสัญญาณการสื่อสารภายในเครือข่าย หรือระหว่างเครือข่าย สัญญาณ asynchronous เป็นหนึ่งที่ส่งผ่านตามอัตรานาฬิกาต่างจากอีกสัญญาณ (สัญญาณ plesiochronous เกือบทั้งหมด แต่ไม่ synchronization และวิธีนี้ได้รับการปรับปรุงตัว และสัญญาณ synchronous ทำงานในอัตรานาฬิกาเดียวกัน

           2) ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ปฏิบัติการ asynchronous หมายถึง กระบวนการปฏิบัติงานอย่างอิสระของอีกกระบวนการ ขณะที่ ปฏิบัติการ synchronous หมายถึง กระบวนการทำงานเฉพาะผลลัพธ์ของอีกกระบวนการที่เสร็จสิ้นหรือหยุดปฏิบัติการ กิจกรรมแบบแผนอาจจะใช้โปรโตคอล synchronous ที่จะส่งไฟล์จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง แต่ละการส่งผ่านได้รับ การตอบสนองได้รับการส่งออกชี้ถึงความสำเร็จหรือต้องส่งใหม่ แต่การส่งผ่านสำเร็จของข้อมูลต้องการตอบสนองไปยังการส่งผ่านก่อนหน้านี้ก่อน อีกเริ่มต้นอีกกระบวนการการสื่อสารโปรแกรม synchronous ตรงข้ามกับการสื่อสารโปรแกรม asynchronous

ที่มา : http://www.com5dow.com/
Internet มี Tools อะไรบ้าง
เครื่องมือติดต่อสื่อสาร  (Communication)
                สำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียน  หรือผู้เรียนกับผู้เรียนเองนั้น  สามารถติดต่อถึงกันได้  2 แบบ คือ 
1.  แบบประสานเวลา  (Synchronous)  หมายความว่า  ผู้เรียน  ผู้สอน  อยู่    เวลาเดียวกันสามารถคุยโต้ตอบกันได้ผ่านการสนทนาออนไลน์  (Chat)  นั่นเอง  ในการสนทนาอาจใช้ได้ทั้งภาพ  วิดีโอพร้อมเสียง โดยผ่านโปรแกรมพวก  MSN , Skype , Video  conference ซึ่งกำลังได้รับความนิยมในประเทศไทย  ซึ่งมีข้อดีสามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ได้เป็นอย่างดี
2.  แบบไม่ประสานเวลา  (Asynchronous) หมายความว่า  ผู้เรียน  ผู้สอนไม่ได้อยู่ที่เดียวกัน    เวลาเดียวกันแต่สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้  โดยผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า  Webboard , E-mail  นอกจากนี้ยังบันทึกความรู้  ความก้าวหน้าในการเรียน  สะท้อนความคิดลงบน  Weblog  หรือ  Blog  ได้อีกด้วย  ซึ่งปัจจุบันเครื่องมือทั้งสามชนิด  ได้ถูกนำมาใช้ร่วมกับการเรียนการสอนด้วย 
ซึ่งการสื่อสารทั้งสองรูปแบบสามารถนำมาใช้ร่วมกันเพื่อให้การจัดการเรียนสอนที่มีประสิทธิภาพได้  เช่น  ผู้สอนสามารถนัดเวลาให้ผู้เรียนเข้ามาร่วมกิจกรรมโดยการอ่าน  พูด  เขียน  หรือนำเสนอผลงานแบบพบหน้ากันได้ผ่านช่องทาง Chat , Video  conference  หรืออาจให้ผู้เรียนค้นคว้าและสะท้อนความรู้ใหม่ที่ได้ค้นคว้ามาบน  Webboard , Blog , Wiki  เป็นต้น
       ที่มา : http://www.google.co.th/url?

Asynchronous Tools
          Asynchronous tools enable communication and collaboration over a period of time through a "different time different place" mode. These tools allow people to connect together at each person's own convenience and own schedule. Asynchronous tools are useful for sustaining dialogue and collaboration over a period of time and providing people with resources and information that are instantly accessible, day or night. Asynchronous tools possess the advantage of being able to involve people from multiple time zones. In addition, asynchronous tools are helpful in capturing the history of the interactions of a group, allowing for collective knowledge to be more easily shared and distributed. The primary drawback of asynchronous technologies is that they require some discipline to use when used for ongoing communities of practice (e.g., people typically must take the initiative to "login" to participate) and they may feel "impersonal" to those who prefer higher-touch synchronous technologies


Synchronous Tool
Synchronous tools enable real-time communication and collaboration in a "same time-different place" mode. These tools allow people to connect at a single point in time, at the same time. Synchronous tools possess the advantage of being able to engage people instantly and at the same point in time. The primary drawback of synchronous tools is that, by definition, they require same-time participation -different time zones and conflicting schedules can create communication challenges. In addition, they tend to be costly and may require significant bandwidth to be efficient.




  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

Lesson 1

lesson 2